วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ภารกิจดำเนินงานบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร


๑.เป็นศูนย์รับแจ้งเรื่องราว ข่าวสารประชาบดี ๑๓๐๐  ให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็ก สตรีและครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยเปิดดำเนินการตลอด ๒๔ ชั่วโมง
๒. เป็นศูนย์ประสานงานและบริการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก สตรีและครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ไม่มีที่พักพิงหรือไม่มีผู้ดูแลและรับผิดชอบ
๓. เป็นสถานแรกรับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
๔.เป็นสถานรับตัวชั่วคราวตามกฎหมาย ๓ ฉบับ
 ๔.๑ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี  พ.ศ. ๒๕๓๙
 ๔.๒ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐
 ๔.๓ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  พ.ศ.๒๕๕๑

วิสัยทัศน์บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร


เป็นองค์กรในการจัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ  ฟื้นฟู พัฒนา และป้องกันให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

แผนภูมิที่ตั้งสำนักงานบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร


สถานที่ตั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร


๙๘/๒  หมู่ ๓  ตำบลคลองคะเชนทร์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิจิตร  โทรศัพท์๐๕๖-๙๙๐๓๙๒-๓
โทรสาร  ๐๕๖-๙๙๐๓๙๔  

วัตถุประสงค์บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร


มีวัตถุประสงค์

๑.                  เพื่อใช้เป็นสถานแรกรับเด็ก และเป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ประสบปัญหาการถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  รวมถึงสถานที่รองรับผู้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ 

๒.                   เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ  ภาคเอกชน  ในการช่วยเหลือเด็กและครอบครัว

๓.                   เพื่อเป็นศูนย์รับแจ้งข่าวสาร  ประชาบดี  ๑๓๐๐  เพื่อรับแจ้งเหตุเด็กถูกทอดทิ้ง  เด็กถูกทารุณกรรม เด็กเร่ร่อน  หรือพลัดหลง  เด็กและสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์  บุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก รวมทั้งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาเด็กและครอบครัว

ความเป็นมาของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร


บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร  เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒  ทั้งนั้น เพื่อเป็นหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือเด็ก  สตรี  และครอบครัว  ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในระยะวิกฤติและบรรเทาปัญหาให้เบาบางลงไป  ก่อนจะคืนสู่ครอบครัวและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืน